โกเมน

โกเมน 

ประวัติ
โกเมนเป็นอัญมณีอีกชนิดหนึ่งที่มีประวัติยาวนานมานับพันปีเช่นเดียวกับเทอร์ควอยซ์ เพราะมีการนำมาใช้เป็นเครื่องประดับมาตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณ ชื่อ Garnet มาจากภาษาละติน หมายถึง เหมือนเมล็ด เพราะสีแดงอมน้ำตาลของโกเมนนั้นใกล้เคียงกับสีของเมล็ดพืช และเนื่องจากรอยแตกที่แหลมคมและระดับความแข็งที่เหมาะสม คนสมัยโบราณจึงนำโกเมนมาใช้เหมือนกระดาษทรายในการขัดถูวัสดุชนิดอื่น เช่น ไม้หรือหนังให้พื้นผิวเรียบลื่น ส่วนชนเผ่าพื้นเมืองในเอเชียสมัยก่อนก็เคยนำโกเมนมาใช้เป็นกระสุนปืน
โกเมน ที่เราเห็นทั่วไป และมักรู้จักกัน ส่วนมากจะเป็นสีแดงคล้ำ ถึงแดงดำ เป็นแร่ที่มีความแข็งเท่ากับ 7-8 ในโมห์สเกล พบมากในไทย แอฟริกา โกเมนนอกจากจะมีสีแดงเข้มแล้ว ยังมีสีอื่น ๆ ที่ผู้คนนิยมกันอีกคือโกเมนสีเขียว และโกเมนสีเหลือง

 

 

 

โกเมนสีเขียวมีชื่อทางการค้าว่า Tsavorite เป็นโกเมนที่มีราคาสูงที่สุด
โกเมนที่มีสีเขียวสดใส เนื้อพลอยสะอาดไม่แตกร้าว มักจะพบแต่ขนาดเล็ก ๆ ส่วนราคานั้นสูงกว่าโกเมนสีแดงมาก บางเม็ดน้ำหนักไม่ถึงกะรัต ราคากะรัตละ 5,000-6,000 บาททีเดียว นิยมนำไปทำเครื่องประดับร่วมกับเพชร ทำให้ดูสวยใสงดงามไม่แพ้มรกต เพราะสีสันเขียวสดใสและสะอาด มีรอยแตกน้อยกว่า และยิ่งนานวันก็ยิ่งมีค่ามีราคามากยิ่งขึ้น

โกเมน สีเหลือง Spessartite, Mandarine Garnet, Hessonite Garnet เป็นอัญมณีที่น่าซื้อหามากที่สุดในขณะนี้อีกชนิดหนึ่ง เพราะมีสีเหลืองเข้มสดใสเหมือนพลอยบุษราคัมมาก จุดเด่นของโกเมนสีเหลืองคือ เนื้อพลอยดูเป็นมันวาวคล้ายกับบุษราคัมจากจันทบุรี แต่สีกลับเหลืองเข้มสดใสเหมือนบุษราคัมจากซีลอน ผลึกก้อนพลอยก็ค่อนข้างหนา เมื่อเจียระไนแล้วจึงได้ประกายไฟที่ดูแกร่งและระยิบระยับสวยงามมาก เรียกได้ว่าโกเมนสีเหลือง สวยไม่แพ้บุษราคัมจันท์และบุษราคัมซีลอน ขนาดใหญ่ 5 กะรัต 10 กะรัตยังพอมีให้ชื่นชมอยู่บ้าง ราคาประมาณกะรัตละ 3,000 บาทขึ้นไป

เพทาย

เพทาย 

คำว่า เพทาย ในภาษาอังกฤษ “zircon” มาจากภาษาอาหรับ “zarkun” หมายถึงสีแดงสดใสไปจนถึงสีแดงเข้ม  บ้างก็เห็นว่ามาจากภาษาเปอร์เซีย คำว่า “zarkun” ซึ่งแปลว่าสีทอง
เพทายที่พบเห็นในแหล่งซื้อขายในปัจจุบัน มักจะเป็นชนิดสีฟ้าอมเขียว ส่วนสีอื่นๆ ก็ได้แก่สีเขียว เหลือง ส้ม แดง น้ำตาล และสีม่วง
เพทายที่ถือว่าสวยงามจะต้องมีสีสดเข้ม เจียระไนเหลี่ยมอย่างประณีต เพื่อให้เกิดการสะท้อนประกายแสง
เพทายมีความแข็งปานกลางไม่ทนต่อการกระทบกระแทกเพราะแตกหักได้ง่าย จึงดีที่สุดถ้าจะนำเพทายมาทำต่างหู จี้หรือแหวนที่มีตัวเรือนที่รักษาเพทายไม่ให้ถูกกระแทกได้
ความเชื่อเกี่ยวกับพลอยเพทาย  อัญมณีเพทายเป็นอัญมณีสำหรับคนที่เกิดเดือนธันวาคม ในยุคกลางเชื่อว่าเพทายสามารถใช้ขับไล่ภูติผีปีศาจ พร้อมกันนั้นยังทำให้ผู้ที่สวมใส่ร่ำรวยขึ้น ได้รับเกียรติยศ ชื่อเสียงและทำให้มีความฉลาดเพิ่มมากขึ้น
สีขาวใสของเพทายดูเผิน ๆ จะคล้ายกับเพชร เมื่อเพทายสีขาวได้รับการเจียระไนด้วยเหลี่ยมเพชร จะทำให้ดูงดงามคล้ายกับเพชร จนได้รับการเรียกขานว่า เพชรไทย นับแต่โบราณมาจนกระทั่งทุกวันนี้ นอกจากสีขาวใสแล้ว เพทายสีฟ้า เพทายสีเหลือง และสีอื่น ๆ ต่างก็ได้รับความนิยมมากเช่นกัน ทั้งนี้ก็เพราะประกายไฟที่ใกล้เคียงกับเพชรนั่นเอง

Zircão.jpeg

1.เพทายสีขาวใส ถ้าจะให้ดูสวยงามใกล้เคียงกับเพชรมากที่สุด ควรต้องเลือกเฉพาะเพทายสีขาวบริสุทธิ์ ไม่ออกสีเนื้อหรืออมน้ำตาล และได้รับการเจียระไนแบบเหลี่ยมเพชรด้วยเพทายสีขาวเม็ดเล็ก ๆ ถ้าเลือกได้ตามคำแนะนำนี้จะนำไปล้อมพลอย หรือใช้แทนเพชรได้ดีไม่น้อยเลย ดังเช่นที่คนโบราณเรียกว่าเพชรไทยนั่นแหละ

2.เพทายสีฟ้า เป็นเพทายสีที่ได้รับความนิยมมากเอกลักษณ์ของเพทายสีฟ้า อยู่ที่สีฟ้าที่เหมือนสีฟ้าใส และสีฟ้าของน้ำทะเลลึก (เป็นสีฟ้าอมเขียว)ยิ่งได้สีฟ้าเข้มสดเท่าไรก็ยิ่งสวยและยิ่งหาได้ยากมาก

3.เพทายสีเหลือง มีทั้งสีเหลืองทองคล้ายบุษราคัมเหลืองเข้ม เหลืองเข้มอมน้ำตาล ซึ่งทุกสีล้วนแต่สวยงามด้วยประกายไฟที่ระยิบระยับคล้ายเพชรท่านชอบเพทาย เหลืองระดับไหนก็ไม่ผิดกฎเกณฑ์ขอเอาใจช่วยให้ท่านเลือกซื้อได้ง่าย ๆ ก็แล้วกัน เพราะทั้งเพทายสีฟ้า สีเหลือง ที่คุณภาพดีนั้นต่างก็หาได้ยากไม่แพ้กัน

มีข้อควรระวังสำหรับเพทายสีเหลือง บางเม็ดเกิดจากการเผาหรืออาบรังสีทำให้เพทายสีเหลืองอ่อน ๆ กลายเป็นเพทายสีเหลืองเข้มดูคล้ายบุษราคัม แต่เมื่อถูกความร้อนสีแสงแรง ๆ สีจะอ่อนลงได้ ผู้ซื้อต้องสอบถามไปยังผู้ขายให้รับประกันการถดถอยของสีด้วย

4.เพทายสีอื่น ๆ เช่น สีแดง สีเขียว จัดว่าเป็นสีที่หาได้ยาก ที่พอจะพบได้บ้างก็มักจะเป็นเม็ดเล็ก ๆ ถ้าท่านถูกใจก็ซื้อไว้ได้ จะรอหาเพทายสีแดง สีเขียวเม็ดโต ๆ อาจจะหาไม่ได้เลยก็เป็นได้

5.เพทายสีอ่อน ๆ ต่าง ๆ เช่น สีเหลืองอมน้ำตาลจาง ๆ สีขาวอมเทา สีเหล่านี้ก็มีให้เห็นบ้างเหมือนกัน ถ้ามีเนื้อดี ไฟดี ขนาดใหญ่ ๆ ก็น่าสะสมไว้ เพราะต่อไปในอนาคต เพทายทุกสีทุกขนาดก็น่าจะหาได้ยากมากเช่นเดียวกับทับทิมสยาม และบุษราคัมจันทบุรี เพทายส่วนใหญ่เนื้อพลอยมักจะมีตำหนิริ้วรอย ดังนั้น จึงควรเลือกเม็ดที่มีเนื้อพลอยค่อนข้างสะอาดไม่แตกร้าว เพทายสีสันต่าง ๆ ที่มีรูปร่างกลม เมื่อได้รับการเจียระไนด้วยเหลี่ยมเพชรก็จะสวยคล้ายเพชรสีก แต่เพทายทรงกลมบางเม็ดที่มีสีสันอ่อน ๆ อาจได้รับการเจียระไนเป็นเหลี่ยมชั้นเพื่อช่วยให้มีสีสันเข้มขึ้น ถ้าจะมีความงามเหมือนกับอัญมณีอื่น ๆ เช่น เหมือนบุษราคัมสีเหลือง เป็นต้นเพทายรูปทรงอื่น ๆ ได้แก่ ทรงไข่ หยดน้ำ ฯลฯ ควรมีก้นพลอยลึกพอควร เมื่อเจียระไนด้วยเหลี่ยมชั้นอย่างละเอียดแล้ว จะทำให้เพทายเม็ดนั้นมีประกายไฟระยิบระยับงดงามมากที่สุดข้อเสนอแนะ ควรสวมใส่เครื่องประดับเพทายด้วยระมัดระวัง เพราะเนื้อพลอยอาจบิ่นหรือร้าวได้ง่าย

โอปอ

โอปอ (Opal)

โอปอล (Opal)

โอปอล (Opal) เป็นที่รู้จักกันมานานนับศตวรรษ จนในศตวรรษที่ 19 คนหมดความนิยมในโอปอล เพราะ Sir Walter Scott ได้เขียนนวนิยายเรื่อง “Anne of Geierstein” ซึ่งได้กล่าวถึงโอปอลในแง่ลบ จนกระทั่งสมัยราชินีวิคตอเรีย แห่งซาราช์ เบอร์ฮาดท์ ได้ทำให้โอปอลกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งจนถึงปัจจุบันนี้ โอปอลเป็นพลอยประจำราศีในเดือนตุลาคมร่วมกับทัวมาลีนชมพู


ค่า นิยมของโอปอลขึ้นอยู่กับแบบการกระจายของการเล่นสี (Play-of-colour) และสีของการเล่นสี การเปลี่ยนอุณหภูมิอย่างกะทันหันอาจทำให้โอปอลร้าวและแตกได้ โอปอลไม่ควรต้มในสารละลายต่างๆ ความร้อนมากไปจะทำให้โอปอลเกิดรอยร้าว การเล่นสีก็จะหายไป และไม่สามารถทำให้กลับคืนสู่สภาพเดิมได้ การจุ่มพลอยลงในน้ำ หรือกลีเซอรีนไม่สามารถช่วยให้รอยร้าว หรือรอยแตกหายไปได้ แต่จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดรอยร้าวเพิ่มมากขึ้น แต่ถ้าของเหลวระเหยหมดไปจะทำให้เกิดรอยแตกหรือรอยร้าวได้

ชนิดและชื่อทางการค้า

  • 1. โอปอลดำ (Black Opal)
ลักษณะพลอยโปร่งแสงถึงทึบแสง การเล่นสีมีสีแดง สีพื้นของตัวพลอยต้องเข้ม อาจเป็นสีน้ำตาลแก่ น้ำเงิน เขียว

  • 2. โอปอลขาว (White Opal)
ลักษณะพลอยจะโปร่งแสงถึงกึ่งโปร่งแสงสีขาวพร้อมกับการเล่นสี ถ้าโอปอลขาวมีการเล่นสีที่สวยงามจะเรียกว่า “White Cliff Opal”

  • 3. โอปอลคริสตัล (Crystal Opal)
ลักษณะพลอยไม่มีสี โปร่งใสถึงกึ่งโปร่งใสมีการเล่นสี

  • 4. โอปอลน้ำ หรือโอปอลวุ้น (Water or Jelly Opal)
ลักษณะพลอยไม่มีสี โปร่งใสถึงกึ่งโปร่งใส มีการเล่นสีเล็กน้อยหรือไม่มี

  • 5. โอปอลไฟ หรือ โอปอลเม็กซิกัน (Fire or Mexican Opal)
ลักษณะพลอยโปร่งใสถึงกึ่งโปร่งใสตัวพลอยสีเหลือง แดง ส้ม น้ำตาล จะมีหรือไม่มีการเล่นสีก็ได้

  • 6. โอปอลเชอร์รี่ (Cherry Opal)
สีแดงมีการเล่นสี เป็นโอปอลที่ไม่ค่ีอยนิยมนำมาทำเป็นเครื่องประดับมากนัก

  • 7. โอปอลธรรมดา (Common Opal)
ลักษณะพลอยโปร่งแสงถึงทึบแสง ไม่มีการเล่นสี

  • 8. โอปอลเพรส (Prase Opal)
ลักษณะพลอยโปร่งแสงถึงทึบแสงตัวพลอยสีเขียวหรือส้ม

  • 9. โอปอลอูลิติค (Oolitic Opal)

การเล่นสีอยู่ลึกเข้าไปในพื้นพลอย มีตำหนิภายในเป็นจุดเล็ก ๆ สีดำหรือน้ำตาล ดูคล้ายไข่ปลา การกระจายแสงจะทั่วทั้งเม็ด

  • 10. ทาบาเชียร์ (Tabasheer Opal)
พบในส่วนข้อต่อของต้นไม้ไผ่(ฟอสซิล)


โอ ปอลเป็นพลอยที่ได้รับความนิยมมากชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะโอปอลดำซึ่งมีความสวยงามและหาได้ยากมากกว่าสีอื่น ๆ มีราคาแพงที่สุดในบรรดาโอปอลชนิดต่าง ๆ ค่าของโอปอลขึ้นอยู่กับสี ขนาด รูปแบบการกระจายของการเล่นสี และสีของการเล่นสี หลักการที่ใช้ตั้งค่าของโอปอลมี 3 อย่าง คือ ความแจ่มชัดของสี การเล่นสี และจำนวนสีที่กระจายอยู่ควรจะเป็นพลอยกึ่งโปร่งแสง แหล่งกำเนิด ออสเตรเลียเป็นแหล่งสำคัญที่สุด

มรกต

มรกต  เป็นแร่รัตนชาติหรืออัญมณี ที่มีสีเขียว โดยเกิดจากการผสมกันระหว่างโครเมี่ยมกับเบริล เป็นแร่เบริลที่มีสีเขียวซึ่งแร่นี้มีได้หลายสี ถ้าฟ้าเรียกอความารีน(aquarmarine)สีเหลืองเรียกโกลเด้นเบริล สีแดงเรียก โรสเบริล และอื่นๆคุณภาพของมรกตอยู่ที่สีหากมีสีเขียวทั่วทั้งเม็ดก็จัดว่าคุณภาพสูง ส่วนตำหนินั้นมรกตธรรมชาติทุกชิ้นจะต้องมีทั้งสิ้น

ไฟล์:Emerald rough 300x422.jpg

ลักษณะเป็นเส้น ริ้วสีขาว จุดสีดำ สีสนิม ฝ้าขาวขุ่นตามธรรมชาติ รอยริ้วที่ดุคล้ายรากผักชีเรียกว่า Jardin หรือสวนแห่งมรกต มรกตคุณภาพดีหรือไม่ดีก็มีทั้งสิ้น แต่พิจารณาปริมาณ และการวางตัวของตำหนิ (ต้องเลือกที่ไม่มีตำหนิต่อเนื่องราวมาจนถึงหน้าพลอย หรือจากขอบหนึงไปถึงขอบหนึ่ง เพราะจะมีผลต่อการนำไปใช้ อาจไม่คงทน )ซึ่งอาจจะมีผลกับการส่องประกายแสงออกมาจากมรกต หากมีมากไปพลอยจะดูทึบแสง

ไฟล์:Émeraude (Colombie).jpg

ไม่มีประกายซึ่งมักได้รับการเจียรไนแบบหลังเบี้ย หรือหลังเต่า หากทึบจนตันแสงไม่ส่องผ่านเลยและมีสีเขียวซีดจะจัดเป็นมรกตคุณภาพต่ำที่สุด มรกตมีการทำเลียนแบบ สังเคราะและปรับปรุงคุณภาพ(อาบนำมันบ้าง ชุบสี ซ่านสี เคลื่อบสี แช่สารเคมีเฉพาะ) ดังนั้นจึงควรตรวจสอบก่อนการซื้อเพราะจัดเป็นพลอยที่มีราคาสูงมาก(ถ้าคุรภาพดีมากและขนาดใหญ่ด้วยแล้ว) บางกรณีนั้นแยกแทบไม่ออกด้วยตาเปล่าต้องส่วห้องปฏิบัติการที่น่าเชื่อถือช่วยตรวจสอบ

มรกตนั้นมีหลายเฉดสี แหล่งที่สำคัญมากและโด่งดังไปทั่วโลกคือ มรกตจากโคลัมเบีย ซึ่งได้รับการยกย่องว่างามที่สุดในโลกราคามักสูงกว่าแหล่งอื่นๆและถูกกล่าวอ้างถึงบ่อยๆ มีเหมืองสำคัญซึ่งผลิตมรกตสีต่างกันคือ เหมืองชิวอร์(Chivor)มีมรกตสีเขียวสดอมเหลือง และเหมืองมูโซ(Muzo)ให้มรกตสีเขียวอมฟ้า คล้ายสีของน้ำทะเล การดูแลรักษาไม่ควรใส่ทำงานหนัก เพราะทนแรงกระแทกได้ไม่ดีนักมีความเปราะ หลีกเลี่ยงสารเคมี น้ำหอมและสเปร์ยแต่งผม

ไพลิน

ไพลิน (Blue sapphire)

ไพลิน ตระกูลคอรันดัม (Blue sapphire, Corundumฺ)
  • พลอยไพลิน คือ พลอยคอรันดัมสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นชื่อใช้เรียกกันในประเทศไทย ส่วนความหมายของคำว่าไพลินสำหรับชาวต่างชาติ หมายถึง พลอยคอรันดัมสีน้ำเงินจากบ่อไพลินในประเทศเขมร ส่วนคำว่าซัฟไฟร์มาจากภาษาละตินว่า “sapphiros”แปลว่า “พลอยดาวเสาร์” แรกเริ่มพลอยที่ถูกเรียกว่าซัฟไฟร์คือ ลาพิส-ลาซูลี (Lapis-Lazuri) ซัฟไฟร์ที่มีสตาร์ 6 แฉก หมายถึง ศรัทธา ความหวัง ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ถือเป็นพลอยแห่งโชคชะตาสำหรับคนเอเชีย มีตำนานเล่าขานกันว่า บัญญัติ 10 ประการได้ถูกสลักไว้บนแผ่นซัฟไฟร์ ไพลินเป็นพลอยประจำเดือนเกิดของเดือนกันยายน

แหล่งไพลินที่สำคัญ
ไพลินแคชเมียร์(Kashmir)

  • แคชเมียร์ อยู่ทางภาคเหนือของอินเดีย เป็นแหล่งกำเนิดซัฟไฟร์น้ำเงินที่สวยที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง มีสีคล้ายสีน้ำเงินดอกข้าวโพด(Cornflower Blue) คล้ายกำมะหยี่สีน้ำเงินอมม่วงซึ่งเป็นที่นิยมกันมากที่สุด แต่พลอยจากแคชเมียร์มีลักษณะขุ่น(Sleepy) ไม่โปร่งใสเท่าที่ควร เพราะมีเส้นไหม(Silks) จำนวนมากเป็นตำหนิอยู่ภายใน ซึ่งผิดกับซัฟไฟร์จากแหล่งอื่นๆ ตามประวัติศาสตร์ ซัฟไฟร์(Sapphire) เริ่มมาจากอินเดีย ถึงแม้ว่าจะมีเหมืองอยู่บ้าง แต่เนื่องจากสิ่งแวดล้อมและสภาวะทางการเมืองทำให้ต้องปิดเหมืองไปในที่สุด
ไพลินพม่า
  • แหล่ง กำเนิดจากแหล่ง เดียวกันกับทับทิมพม่า มีคุณภาพดีมากเพราะมีสีน้ำเงินเข้ม เรียกว่า “รอยัล บูล”(Royal Blue) สีน้ำเงินอมม่วงอ่อนๆ แตกต่างจากพลอยแคชเมียร์ตรงที่พลอยพม่าเมื่อถูกแสงไฟสีจะจางลงเล็กน้อย (เนื่องจากการดูดกลืนแสงของพลอย) ทำให้มีสีขุ่นๆ คล้ายกับน้ำหมึก ถือเป็นพลอยสีสวยแต่หาได้ยาก
ไพลินไทย

  • ไพลิน สีน้ำเงินของไทยมีสีค่อนข้างสวย โดยเฉพาะตรงบริเวณใกล้เขตแดนไทย-เขมร พบพลอยน้ำเงินที่มีคุณภาพคล้ายแคชเมียร์ เรียกว่า “ไพลิน” (Pailin) ส่วนพลอยไพลินที่มาจากกาญจนบุรี อำเภอบ่อพลอยจะมีไพลินที่มีคุณภาพดีเช่นกัน
ไพลินซีลอน

  • ซี ลอนเป็นแหล่งกำเนิดของซัฟไฟร์สีต่างๆ หลายสี ส่วนมากจะเป็นสีน้ำเงินอมเทาอ่อนๆ ถึงน้ำเงินอมม่วง เป็นพลอยที่มีไฟดีมาก ลักษณะเด่นของซัฟไฟร์น้ำเงินจากซีลอน คือมีสีไม่สม่ำเสมอ ตำหนิภายในพลอยส่วนใหญ่จะมีเส้นไหม (Silks) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้พลอยออกเทาน้ำเงิน คำว่า “กิวดาซัฟไฟร์” (Gueda Sapphire) คือคอรันดัมดิบจากศรีลังกา มีสีเทา-ขาวและโปร่งใส เมื่อนำไปเผาจะกลายเป็นสีน้ำเงินโปร่งใสสวย
ไพลินมอนทานา
  • จาก โยโกเกาซ์(Yogo Gluch) ส่วนมากจะมีสีอ่อน มักจะเรียกกันว่าสีน้ำเงินไฟฟ้าหรือน้ำเงินแบบเหล็ก(Steel Blue) มีความวาวแบบโลหะ คุณภาพไม่ได้จัดอยู่ในระดับ เพราะพลอยดิบส่วนมากที่ขุดได้จะมีลักษณะชิ้นเล็กๆ เป็นรูปหกเหลี่ยมของผลึกเฮ็กแซกโกนัล(Hexagonal)
ไพลินออสเตรเลีย

  • ปกติ จะมีสีน้ำเงินมืด คล้ายสีน้ำหมึก เป็นสีน้ำเงินอมม่วงมืด ที่ลักษณะเด่นชัด คือ โทนสีมืด มีแถบสี หรือลายสีชัด ส่วนมากพลอยสีมืดจะส่งมาประเทศไทย เพื่อทำการเผาให้สีจางลง
ไพลินอัฟริกา

  • ซัฟไฟร์ ที่พบจะมีหลายสี มีสีคล้ายสีดินสอเทียน(Pastel) คือสีน้ำเงินอ่อนๆ น้ำเงินม่วง แดงม่วง เหลืองอ่อน ส้มอ่อน เทา และส้มอมน้ำตาลมืด บางชนิดอาจเปลี่ยนสีคล้ายกับอเล็กซานไดรท์(จากสีน้ำเงิน-เทาในแสงแดดเป็นสี เขียวหรือม่วงในแสงไฟ)

ไพลินเขมร

  • เขมร เป็นแหล่งที่มีซัฟไฟร์น้ำเงินสวยที่สุดแห่งหนึ่งของโลก สีน้ำเงินของไพลินเขมรจะคล้ายกับของแคชเมียร์ แต่เนื่องจากเหตุผลทางการเมืองทำให้ไพลินเขมรมีไม่มาก ในตลาดเหมืองที่ขุดไพลินได้ชื่อ “บ่อไพลิน” จึงใช้ชื่อนี้ เรียกพลอนคอรันดัมสีน้ำเงิน ที่มาจากเขมรตามชื่อแหล่ง ตลาดไพลินทีสำคัญคือจังหวัดจันทบุรี เพราะอยู่ใกล้ชายแดนติดกับประเทศเขม

ทับทิม

ทับทิม 

ทับทิมเป็นอัญมณีสีแดงที่มหาราชาแห่งอินเดีย ชาห์แห่งเปอร์เซีย สุลต่านแห่งตุรกีนิยมมีไว้ในครอบครอง เพราะผู้คนเชื่อว่า มันคือสัญลักษณ์ที่แสดงอำนาจและความมั่งคั่ง อนึ่ง การมีความสวยงาม ความคงทนและความเป็นของหายาก ได้ทำให้มนุษย์มีความรู้สึกผูกพันกับทับทิมมาตั้งแต่สมัยโบราณทุกวันนี้ เราถือว่าทับทิมคืออัญมณีประจำเดือนกรกฎาคมในราศีสิงห์ และเป็นรัตนชาติที่เหมาะจะ ให้เป็นของขวัญในวันครบรอบแต่งงาน 15 และ 40 ปี คำว่า ทับทิม ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า ruby และคำละตินว่า ruber ซึ่งแปลว่า แดง ส่วนใน ภาษาสันสกฤตนั้น ทับทิมคือ ratnaraj ซึ่งแปลว่า รัตน์แห่งพระราชา
ผู้คนตะวันตกรู้จักทับทิมเป็นครั้งแรกจากการอ่านคัมภีร์ไบเบิล ซึ่งได้เปรียบความงามของสตรีว่า มีค่าเยี่ยงทับทิม ส่วนคนยิวเชื่อว่าทับทิมคืออัญมณีหนึ่งใน 12 ชนิด ที่พระเจ้าทรงสร้างประดับโลก ในตำราอัญมณีที่ปราชญ์กรีกชื่อ Theophrastus ได้เขียนขึ้น เมื่อ 2,315 ปีก่อนนี้ ได้มีการกล่าว ถึงทับทิมเช่นกัน หรือแม้แต่ Pliny นักประพันธ์โรมันก็ได้เคยเขียนเกณฑ์การจำแนกคุณภาพของ ทับทิมในหนังสือ Natural History เมื่อ 1,900 ปีมาแล้ว ดังนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า Pliny คือ นักอัญมณีศาสตร์คนแรกของโลก
ส่วนคนตะวันออกก็ได้รู้จักทับทิมมาตั้งแต่สมัยโบราณเช่นกัน ตำนานในศาสนาฮินดูเล่าว่า ใครใดที่นำทับทิมถวายแด่องค์เทพกฤษณะ ความปรารถนาของเขาจะสัมฤทธิผล และถ้าทับทิมที่นำถวายมีคุณภาพดีมาก เขาก็จะเกิดใหม่เป็นจักรพรรดิในชาติหน้า แต่ถ้าทับทิมมี คุณภาพไม่สู้ดีนัก เขาก็เป็นได้แค่พระราชา สำหรับคนอินเดียที่ไม่ได้รับการศึกษาสูงมักเชื่อว่า เมื่อแรกเริ่มทับทิมไม่มีสี แต่วันเวลาที่ผ่าน ไปจะทำให้ทับทิมมีสีสุกใส ดังนั้น ทับทิมเม็ดใดที่มีสีชมพูแสดงว่า มันยังสุกไม่พอ จึงจะต้องถูกนำไปฝังดินอีก ส่วนทับทิมเม็ดใดที่มีสี แดงเกินไปก็แสดงว่า ได้สุกงอมเต็มที่แล้ว และคนพม่านั้นมักเชื่อว่า ทับทิมคือศิลาวิเศษ ที่นอกจากจะสามารถทำให้ความฝันและตัณหา ของเจ้าของเป็นจริงแล้ว มันยังทำให้เจ้าของมีเสน่ห์ มีความสุขและมีสุขภาพดีด้วย
เมื่อนักผจญภัยชื่อ Marco Polo เดินทางไปเยือนจีน โดยผ่านประเทศอินเดียเขาได้รายงานการเห็นทับทิมเม็ดขนาดใหญ่เท่าไข่ไก่ การได้ยินได้ฟังข่าวทำนองนี้ได้ทำให้ชาวยุโรปยุคนั้นกระหายจะได้อัญมณีทุกชนิดที่ชาวตะวันออกมี และเมื่อชาวตะวันออกกระจายข่าวว่า ทับทิมสามารถทำให้เลือดลมของคนที่มีมันในครอบครองลื่นไหล จิตใจสะอาดแจ่มใส สมองปราดเปรื่อง สุขภาพดี มีโชค ทั้งในด้านการ พนันและความรัก ชาวตะวันตกก็เริ่มกระบวนการล่าอาณานิคมปล้นชาติของชาวตะวันออกทันที
แต่เมื่อชาวยุโรปได้ครอบครองทับทิม ในบางกรณีทับทิมกลับนำโชคร้ายและความตายมาสู่เจ้าของ เช่น ในวันที่พระมเหสีองค์แรกของ พระเจ้า Henry ที่ 8 แห่งอังกฤษ จะทรงถูกสำเร็จโทษ พระธำมรงค์ทับทิมของพระนางปรากฏสีหมองหม่น เป็นต้น
ทุกวันนี้ นักอัญมณียอมรับว่าทับทิมที่ดีมีพบมากในเอเชีย โดยเฉพาะ พม่า เพราะทับทิมที่เมือง Mogok ในพม่าคือทับทิมที่ดีที่สุดในโลก และเมือง Mogok ปัจจุบันได้กลายเป็นศูนย์กลางการขุดและค้าทับทิม ที่ผู้คนมุ่งมาซื้อขายทับทิมจนทำให้มีโรงแรมเกิดขึ้นมากมาย
นอกจากนี้ 90% ของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเมืองต่างก็มีอาชีพค้าขายทับทิมทั้งถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย จนเป็นที่เลื่องลือกันว่า ถ้าอาชีพโสเภณีเป็นอาชีพที่โบราณที่สุดของมนุษย์ อาชีพลักลอบค้าอัญมณีก็เป็นอาชีพที่โบราณเป็นอันดับสอง
สำหรับในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2446 ได้มีการขุดพบทับทิมเช่นกันที่จันทบุรี ตราด และที่อำเภอบ่อไร่ แต่ปัจจุบันทับทิมสยามใน บริเวณนี้ แทบจะไม่มีแล้ว ถึงกระนั้น 80% ของทับทิมที่ขุดได้จากทั่วโลก ทุกวันนี้จะถูกส่งเข้าในประเทศไทย เพื่อเพิ่มคุณค่าของมันให้ สูงขึ้น โดยการเผาหรือเจียระไนก่อนจะถูกส่งออกจำหน่ายเป็นเครื่องประดับต่อไป
ส่วนในทวีปแอฟริกา เช่น ในประเทศ Tanzania เกาะ Madagascar และประเทศ Kenya ก็มีการทำเหมืองทับทิมมากเช่นกัน


ตามปกติผู้เชี่ยวชาญด้านอัญมณีมักมีเกณฑ์ประเมินคุณภาพของทับทิม โดยการพิจารณาความงาม คุณภาพและคุณค่า น้ำหนักสี ความอิ่มตัวสีและความใสสะอาดที่ปราศจากมลทิน เพราะสีแดงของทับทิมมีหลายรูปแบบ เช่น แดงเลือดนก แดงจงกลนี แดงทับทิม แดงดอกงิ้ว แดงพระอาทิตย์แรกขึ้น แดงดอกรัก แดงมะกล่ำตาหนู แดงดอกบัวบาน หรือแดงเต่าทอง เป็นต้น


ถึงแม้ระดับความแดงจะแตกต่างกันเช่นไร นักอัญมณีก็รู้ว่าสีแดงของทับทิมเกิดจากการมีสารเจือที่เป็นอะตอมธาตุ chromium ในแร่ กะรุน (corundum) และอาจมีอะตอมของธาตุอื่นๆ เช่น titanium, vanadium เหล็ก หรือ gallium ปนอยู่ด้วยก็ได้


ณ วันนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้พบวิทยาการด้านธรณีวิทยา อัญมณีวิทยา และเคมีสามารถตรวจสอบได้ว่า ทับทิมแต่ละเม็ดมีโครงสร้าง โมเลกุลอย่างไรหรือมีอายุเพียงใด และมีแหล่งกำเนิดที่ใด การล่วงรู้เช่นนี้จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถสังเคราะห์มันได้ แต่ถึงแม้เรา จะสังเคราะห์ทับทิมได้ แต่คนทั่วไปก็ยังชอบทับทิมธรรมชาติมากกว่าทับทิมประดิษฐ์

ประวัติศาสตร์ได้จารึกว่า Auguste Verneuil นักเคมีชาวฝรั่งเศสเป็นบุคคลแรกที่พบวิธีทำทับทิมสังเคราะห์ โดยได้เผาแร่ corundum จนกระทั่งมีอุณหภูมิสูงถึง 1,000 องศาเซลเซียส แล้วเติม chromium ลงไปเพื่อให้สีแดง จากนั้นเขาก็ปล่อยให้มันแข็งตัว เป็นผลึกทับทิม


ปัจจุบันนี้บริษัท H. Djevahirdjian S.A. ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ คือบริษัทที่ทำธุรกิจสังเคราะห์ทับทิมที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งได้ ทำสถิติสังเคราะห์ทับทิมที่หนักถึง 2,134 กะรัต และเมื่อเรารู้ว่าทับทิมหนาแน่นยิ่งกว่าเพชร เพราะ 1 กะรัตของทับทิมคือผลึกที่มีเส้น ผ่าศูนย์กลาง 0.6 เซนติเมตร เราก็รู้ว่าทับทิมสังเคราะห์เม็ดใหญ่ที่สุดในโลก มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาวถึง 13 เมตร ส่วนทับทิม Mogok ซึ่งเป็นทับทิมธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดนั้น หนักเพียง 15.97 กะรัตเท่านั้นเอง แต่ก็มีมูลค่าถึง 180 ล้านบาททีเดียว

เมื่อความสามารถในการสังเคราะห์ทับทิมเพิ่มสูงขึ้นๆ เทคนิคการเจียระไนซึ่งจะทำให้มันมีรูปร่างและความสุกใสตามที่ต้องการก็มีมาก ขึ้น ทุกวันนี้ใครๆ ก็รู้ว่า ทับทิมแทบทุกเม็ดที่ซื้อขายกัน ต่างก็ผ่านการเผามาแล้วทั้งสิ้น และไม่เพียงแต่วงการไฮโซเท่านั้นที่นิยมใช้ทับทิม สังเคราะห์ แม้แต่วงการวิทยาศาสตร์ก็ได้นำแท่งทับทิมสังเคราะห์ มาใช้เป็นชิ้นส่วนในการผลิตแสงเลเซอร์ทำนาฬิกา และอุปกรณ์ผ่าตัด ด้วยเหมือนกัน


สำหรับการเก็บพิทักษ์รักษาทับทิม ผู้เชี่ยวชาญเสนอแนะว่า เพราะเหตุว่าทับทิมมีความแข็งน้อยกว่าเพชรและนิล ดังนั้น ในการเก็บทับทิม เจ้าของควรแยกอัญมณีต่างๆ จากทับทิม เพื่อไม่ให้มันขูดข่วนกัน ซึ่งจะทำให้ทับทิมมีมลทิน และเวลาทำความสะอาดก็ให้ใช้ไอน้ำ หรือ น้ำอุ่นที่มีสบู่อ่อนๆ ล้าง และไม่ควรล้างด้วยเครื่องจักร

ทับทิมแต่ละชนิด 

  • ทับทิม(Ruby)

อยู่ในตระกูลคอรันดัม (Corundum)มี ลักษณะโปร่งใสถึงทึบแสง สีแดงอมส้ม สีแดงอมม่วง และแดงอมน้ำตาล ธาตุสีมาจากโครเมียม ทับทิมเป็นพลอยที่มีค่ามาก เรียกว่าเป็นราชาของพลอย(King of Gem) ชื่อ “Ruber ” มาจากภาษาลาตินแปลว่า “สีแดง” คนฮินดูเชื่อว่าคอรันดัมมีสีใสไม่มีสี (Colourless sapphire) คือทับทิมที่ไม่สุก ส่วนทับทิมที่มีตำหนิมากคือทับทิมที่สุกเกินไป ทับทิมเป็นพลอยประจำราศีเดือนกรกฎาคม เชื่อว่าการสวมใส่ทับทิมจะนำมาซึ่งสุขภาพแข็งแรง ความมั่นคง และสติปัญญา ทับทิมส่วนมากจะพบในดินทรายใกล้ทางน้ำแร่ซึ่งปนอยู่(Placer of Alluvial Deposit) และมีแหล่งกำเนิดค่อนข้างจำกัด

  • แหล่งทับทิมที่สำคัญๆ ได้แก่

  • ทับทิมพม่า

ประวัติ ของทับทิมแหล่งที่มีชื่อเสียงมาจากเมืองโมกอก (Mokok) ในประเทศพม่า และเหมืองใหม่ชื่อเหมืองบ่อซู่(Mong Shu) แหล่งที่พบพลอยจะอยู่ระหว่างบริเวณดินปนกรวดซึ่งเรียกว่า “ไบออน”(Byon) มีความลึกประมาณ 20 -100 ฟุต และค้นพบโดยการล้างและร่อนด้วยตะแกรง แล้วใช้มือเลือกหา เป็นแหล่งทับทิมที่คุณภาพดีที่สุดในโลก สีแดงแบบเลือดนกเป็นที่นิยมกันมาก ทับทิมสตาร์จากพม่าถือว่ามีสีสวย และมีผลผลิตมากที่สุดในโลก

  • ทับทิมไทย

ชื่อ ที่นิยมใช้เรียกกันและเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกคือ ทับทิมสยาม มีสีแดงมืดถึงแดงอมน้ำตาล จังหวัดที่มีผลิตมากที่สุดคือ จันทบุรี บริเวณที่พบมากคือชายแดนใกล้ประเทศเขมร พบทับทิมอยู่ระหว่างดินทรายลึกประมาณ 6-20 ฟุต วิธีทำเหมืองใช้วิธีการฉีดดินด้วยน้ำหรือนำมาร่อนด้วยตะแกรงในน้ำเพื่อให้ ผลึกทับทิมหลุดออกมา ทับทิมสยามเป็นแหล่งทีสำคัญที่สุดในตลาดปัจจุบัน เพราะทับทิมพม่านั้นหาได้ยากกว่า เนื่องจากเหตุผลทางการเมืองของพม่า ปัจุบันกรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางทางการค้าและเจียระไนทับทิมไทยและพม่า

  • ทับทิมศรีลังกาหรือซีลอน

เป็น แหล่งกำเนิดทับทิมและซัฟไฟร์สีต่างๆ กัน รวมทั้งพลอยมีสตาร์ด้วย แหล่งที่พบพลอยเกิดขึ้นระหว่างดินปนกรวด ซึ่งมีความลึกประมาณ 50 ฟุต วิธีทำเหมืองคล้ายๆ กับของพม่า ทับทิมที่ค้นพบมีคุณภาพไม่ดีเท่าของพม่า ส่วนมากจะมีสีแดงอ่อน หรือแดงอมม่วง ซึ่งควรจะเรียกว่า “ซัฟไฟร์ชมพู” พลอยส่วนมากจะมีสีอ่อน โทนสีอ่อนกว่า แต่มีไฟที่ดีกว่าของพม่ากับไทย และสีจะไม่สม่ำเสมอ

  • ทับทิมอัฟริกา

ทับทิม จากแหล่งนี้ส่วนมากมีสีสวย เป็นสีแดงอมม่วง เมืองที่ผลิตทับทิมคือ ลองจิโดและลอสโซโกนอย ทานซาเนีย ส่วนมากจะเป็นขนาดเล็ก(Melle) ทับทิมขนาดใหญ่ก็เคยปรากฎมีบ้างมาจากเคนยา แหล่งที่สำคัญอีกแหล่งคือที่แม่น้ำอุมบ้า(umba River) ทับทิมจากทานซาเนียมีสีแดงอมส้ม ส่วนมากมีตำหนิค่อนข้างมาก จึงเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ทับทิมทายซาเนียดูซึมๆ นอกเหนือจากทับทิมแล้ว ทานซาเนียยังมีซัฟไฟร์หลากสี แต่คุณภาพอยู่ระหว่างปานกลาง

  • ทับทิมเวียดนาม

ทับทิม เวียดนามไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายนัก โดยเหตุผลทางการเมืองของประเทศเวียดนามเองและมีการควบคุมผลผลิตโดยรัฐบาล ทับทิมเวียดนามมีสีแดงอมส้มสวยไม่แพ้ทับทิมพม่า